โรคมะเร็งลำใส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำใส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ ในระยะแรกการเจริญเติบโตของเซลล์จะไม่ใช่เนื้อร้าย ถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาและตัดออกไปก็จะสามารถกลายเป็นเนื้อร้ายได้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลานานหลายปีสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังไม่ทราบแน่นอน แต่ปัจจัยบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ เช่น

- อายุ ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย 90% ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี

- ก้อนเนื้อธรรมดาในลำไส้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้

- ประวัติมะเร็งส่วนตัว ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก หรือเต้านม ผู้ป่วยคนนั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนปกติ

- ประวัติมะเร็งในครอบครัว ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าปกติ ถ้าบุคคลในครอบครัว (พ่อ แม่ พี่น้อง) มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคในอายุน้อยกว่า 60 ปี

- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าปกติ

- อาหาร อาหารที่มีผัก ผลไม้มาก และเนื้อสัตว์น้อย อาจจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้

1. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก/ท้องเสียบ่อยๆและเป็นเวลานาน

2. เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation ได้

3. อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น

4. รับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง

5. มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและไปตกค้างที่ลำไส้

6. เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้การตรวจเบื้องต้นเพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสิ่งสำคัญ อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้

•อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ

• มีเลือดปนมาในอุจจาระ

• การมีเลือดออกทางทวารหนัก

• อุจจาระมีขนาดเล็กลงหรือบางลง

• ปวดถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

• อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก

• อาการท้องผูกสลับท้องเสีย

• ลำไสอักเสบเรื้อรัง

• ปวดมวนท้อง

• อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง ซึ่งมักเป็นทางด้านขวาตอนล่าง

• อาการปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้าย ปวดอุจจาระตลอดเวลา

• อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ

• อาจมีอาการซีด อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลด

• ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของลำไส้อุดตัน คือ ปวดท้องอย่างรุนแรงคล้ายลำไส้ถูกบิด แต่เป็นอยู่เพียงชั่วครู่ แล้วก็ทุเลาไป และกลับเป็นใหม่อีกร่วมกับการไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม เป็นต้น

• นอกจากนี้ยังพบว่า อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งตั้งอยู่ เช่น
-มะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งอุจจาระยังเหลวมากนั้น อาการจะปรากฏในรูปของเลือดออก โลหิตจาง อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก

- มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนขวางอาจปรากฏอาการปวดท้อง ท้องอืด เลือดออก

-มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่าย
มะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสปล่อยเลือดออกมาทั้งเลือดสดๆ หรือเลือดเก่า จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาคุณหมอทันที

การป้องกันหรือการลดความเสี่ยง

แม้จะยังไม่มีวิธีกำจัดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 100% แต่ก็มีวิธีลดความเสี่ยงลงได้ เช่น บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้น จนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน

การใช้ฮอร์โมนเสริมในหญิงวัยหมดประจำเดือน ปัจจุบันนี้วงการแพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อช่วยพิจารณาความเสี่ยงแล้วให้รับการส่องกล้องตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็ง รือโพลิป หรือไม่เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาให้หายขาดได้แต่เนิ่นๆ

แนะนำอาหารต้านมะเร็ง

1. หลักอาหารต้านมะเร็ง

- กินข้าวกล้องวันละ 5 ทัพพี หรือใช้ขนมปังโฮลวีตแทน กินข้าวโพดต้มตามควร เพื่อเผือกต้มตามต้องการ
- น้ำคั้นผักผลไม้วันละ 6 - 8 แก้ว
- ผักสด 1 - 2 จานต่อวัน
- ใช้ซุปโพแทสเซียม

2. หลักการคั้นน้ำผักผลไม้
    ใช้ Juicer ปั่นแยกน้ำผลไม้ออกมาประมาณ ครึ่งแก้ว ใส่เนื้อผลไม้ลงใน Blender แล้วใช้ผักต่างๆ ใส่ลงไปปั่นพร้อมกัน ใช้ผ้าขาวบางคั้นน้ำมาดื่ม

3. หลักการทำน้ำซุปโพแทสเซียม
ใช้กระเทียม หอมแดง หอมใหญ่ สำหรับหอมใหญ่ใส่เยอะ ๆ จะช่วยให้หวาน ปอกเปลือกมันฝรั่งหนา ๆ ประมาณ ครึ่งซม. เปลือกมันฝรั่งมีโพแทสเซียมมาก ใส่ผักทุกชนิดลงไป เช่น กระหล่ำปลี คะน้า ปวยเล้ง ผักกาด ฯลฯ
ใส่น้ำปริ่ม ๆ ต้มไฟอ่อน ๆ ตุ๋นเป็นจับฉ่าย ใช้น้ำนี้เป็นน้ำสต๊อกสำหรับปรุงอาหารต่าง ๆ

4. ข้อควรระวัง
- ภาชนะที่ใช้ปรุงหลีกเลี่ยงอลูมิเนี่ยม แต่ให้ใช้ภาชนะสเตนเลส หรือหม้อเคลือบแทน การคั้นน้ำผักและผลไม้โดยเครื่อง Juicer ให้กั้นน้ำออกจากกากก่อนทิ้งทุกครั้ง
- ภาชนะที่ใช้ปรุงพึงเลี่ยงอลูมิเนี่ยม แต่ให้ใช้ภาชนะสเตนเลส หรือหม้อเคลือบแทน
- การคั้นน้ำผักและผลไม้โดยเครื่อง Juicer ให้กั้นน้ำออกจากกากก่อนทิ้งทุกครั้ง

ในการปฏิบัติ

 

มื้อเช้ามืด

น้ำส้มคั้น

มื้อเช้า

ผลไม้สด วีทเจิร์ม ผลไม้แห้ง น้ำคั้นจากผักสด ผลไม้สด ข้าวต้มข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีต

มื้อสาย

น้ำคั้นจากผลไม้สด หรือน้ำคั้นจากผักสด

มื้อกลางวัน

สลัด ผัก ผลไม้ ผลไม้แห้ง ข้าวกล้องและข้าวโพดโรยรำกินกับน้ำซุปโพแทสเซียมและผักผัดน้ำซุปไม่ใช้ น้ำมัน ผลไม้สดหลังอาหาร และน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สด อาจตำน้ำพริกด้วยสูตรต้านมะเร็งกินกับผักสด

มื้อบ่าย

น้ำคั้นจากผลไม้สด หรือน้ำคั้นจากผักสด และเผือกต้ม มันต้ม

มื้อเย็น

สลัด ผัก ผลไม้ ผลไม้แห้ง น้ำสลัดเป็นมะนาวเท่านั้น ข้าวกล้องและข้าวโพดโรยรำกินกับน้ำซุปโพแทสเซียมและผักผัดน้ำซุปไม่ใช้ น้ำมัน ผลไม้สดหลังอาหาร และน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สด

มื้อก่อนนอน

น้ำคั้นจากผลไม้สด หรือน้ำคั้นจากผักสด ข้าวต้ม โจ๊ก ถ้าหิว

 

 

 หมายเหตุ ในระยะแรกอาจจะกินไม่ค่อยได้หรือได้น้อย ควรให้น้ำจากผลไม้สด ๆ บ่อย ๆ ทีละน้อยให้ได้วันละ 10 แก้วขึ้นไป การคั้นน้ำผักและผลไม้ควรคั้นสด ๆ คั้นแล้วดื่มเลย

อาหารรักษามะเร็ง อาหารที่ใช้รักษามะเร็งจะแตกต่างจากอาหารในชีวิตประจำวัน อย่างมากมายเนื่องจากอาหารที่ใช้ส่วนใหญ่ต้องเป็นอาหารที่มีลักษณะใกล้เคียง ธรรมชาติมากที่สุด เพื่อร่างกายจะได้วิตามิน เกลือแร่ และเอนไชม์ จากธรรมชาติเข้าไปเสริมภูมิต้านทาน หากกินอาหารดัดแปลง อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป ตามกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม จะไม่หลงเหลือคุณค่าทางอาหารอยู่เลย

 อาหาร 3 อย่างที่ต้องงด

 1. งดเนื้อสัตว์รวมทั้งปลา ไข่ ซุปไก่ รังนก แม้กระทั้ง เต้าหู้ โปรตีนเกษตร และเมล็ดถั่วในระยะแรก

2. งดใช้น้ำมันหรือไขมันไม่ว่าจะเป็นไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืช

3. งดเค็ม งดทั้งเกลือแกง น้ำปลา แต่ให้ร่างกายได้รับโพแทสเซียมจากผักมาก

 การงดเนื้อสัตว์และไขมัน เพื่อจะไม่ป้อนวัตถุดิบให้กับเซลล์มะเร็งใช้ในการเติบโต งดเค็มเพราะเกลือโซเดียมนี้มีมากเกินไป
จะบั่นทอนภูมิต้านทาน

 อาหาร 3 อย่างที่ต้องกิน

 1. ข้าวกล้องเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวัน ทุกครั้งให้โรยรำอ่อนควบอีก 1 ช้อนโต๊ะ ควรกินข้าวกล้องให้ได้ 5 ทัพพีต่อวัน

2. ผักสดและผลไม้สดปริมาณมากทุกมื้อ และคั้นน้ำผักและผลไม้ดื่มสด ๆ ด้วย

3. กินข้าวโพดด้วยในระหว่างมื้ออาหาร

 ด้วยอาหารที่กินตามหลักนี้ ร่างกายจะได้โปรตีนในปริมาณพอดี สำหรับซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพราะข้าวกล้อง 1 ทัพพี
ให้โปรตีน 7.8 กรัม ดังนั้นการกิน 5 ทัพพีจะได้โปรตีน 39 กรัม ซึ่งเพียงพอ ขณะเดียวกันการกินข้าวโพดด้วย เพื่อให้ร่างกายได้กรออะมิโน จำเป็น 20 ชนิดครบส่วน ผู้ป่วยมะเร็งที่คุมอาหารเช่นนี้กว่า 7 ปี จะหายจากมะเร็งแล้ว ล้วนมีสุขภาพแข็งแรงโดยไม่เคยมีสภาพขาดอาหาร


อาหารที่ต้องห้าม

ได้แก่ ชา กาแฟ บุหรี่ โกโก้ ช็อคโกแลต แอลกอฮอล์ ครีม น้ำตาลทราย แป้งขัดขาว ไอศครีม เค้ก ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เมล็ดถั่วทุกชนิด ควรงดในระยะ 6 เดือน แรก อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง ของหมักดอง ผงชูรส ผงฟู ยาสีฟันที่มีเกลือผสม อโวคาโด สตอเบอร์รี่ สับปะรด และแตงกวา