องุ่นเป็นไม้ยืนต้น ชนิดเถาไม่เลื้อย จัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมกันมาก นิยมรับประทานสด และนำมาแปรรูปไม่ว่าจะมาจากส่วนใดขององุ่นก็ตามมีคุณค่าสารอาหารมากมาย รวมทั้งยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงคุณประโยชน์ในส่วนของเมล็ดองุ่น ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและให้ความสำคัญกันมาก
สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือที่เรียกว่า Grape seed extract ซึ่งให้สารสำคัญ คือ OPC (Oligomeric proanthocyanidins) จัดอยู่ในกลุ่ม Bioflavonoids ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่แรงและมีความแรงกว่า วิตามินซี 20 เท่า และแรงกว่าวิตามินอี 50 เท่า จึงได้รับการขนานนามว่า Super antioxidant นั่นเอง
ด้วยคุณสมบัตินี้จึงมีบทบาทในการป้องกันการเสื่อมหรือการถูกทำลายของเซลล์ ต่างๆในร่างกายจากอนุมูลอิสระได้อย่างดี
ดังนั้นสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่แรง สามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ดี จึงป้องกันการเสื่อมต่างๆ ของร่างกายได้อย่างดี สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากการเจ็บป่วยได้เช่นกัน
นอกจากนั้น สารสกัดจากเมล็อองุ่นยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการเสื่อมสลายของคอลลาเจน บริเวณใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังเต่งตึง ดูมีเลือดฝาดไม่ว่าจะคุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิงก็จะดูเป็นหนุ่มสาวคงกระพันดู อ่อนเยาว์ได้นาน
สารสกัดจากเมล็ดองุ่นยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการเสื่อมของคอลลาเจนบริเวณหลอดเลือดดำด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นมีคุณสมบัติในการป้องกัน และรักษาโรคหลอดเลือดดำอุดตัน รวมทั้งเส้นเลือดขอด ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยจะมีอาการปวดขา เดินระยะทางไกลได้ไม่มาก หลอดเลือดดำโป่งนูนขึ้น รวมถึงผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดระยะเริ่มต้น ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยแมงมุม (spider web) หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดขอด เช่น ผู้ที่ต้องยืน หรือนั่งเป็นเวลานานๆ พบมากโดยเฉพาะคุณผู้หญิงนั่นเอง
ด้วยคุณสมบัติที่เป็น Superantioxidant ของสารสกัดเมล็ดองุ่นนั้น มีคุณสมบัติทำให้เส้นเลือดแข็งแรง เส้นเลือดมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการไหลเวียนเลือดที่ดีเช่นกันด้วยฤทธิ์ดังกล่าว จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ เป็นต้น
ขนาดรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- สำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงผิว ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น 50 มิลลิกรัม/วัน
- สำหรับป้องกัน หรือรักษาเส้นเลือดขอด 150 มิลลิกรัม/วัน
เอกสารอ้างอิง
- นายแพทย์ เสรี หงษ์หยก หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ที่ 18 เมษายน 2541
- Mccaleb Rs.et.al,the Encyclopedia of popular herbs.(CA:prima Publishing,2000) 231-236
- Bratram S. and Kroll D,Clinical Evolution of Medicinal Herbs and other Thrapeutic atural product (CA prima publishing,1999)1-5