การดูแลสุขภาพสมอง

การดูแลสุขภาพสมอง

สมองของคนเรา นับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของการดำเนินชีวิต ทั้งเรื่องของสติปัญญา ความคิด ความจำ การเรียนรู้ ความสามารถในการทำงานและการตัดสินใจ โดยสมองจะมีการเติบโตและพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยๆจนถึงอายุ 25 ปี และจะเริ่มเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ในปัจจุบันนี้ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้มากขึ้น เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น โดยอุบัติการณ์ของภาวะสมองเสื่อมเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย มีการคาดการณ์ว่าในอีก 20ปีข้างหน้า ภาวะสมองเสื่อมจะเกิดกับคนไทยมากขึ้นเป็นล้านคน จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คนต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อยถึง 2 คนจึงนำไปสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายตามมา ดังนั้นจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วย ทั้งทางกาย ใจ สังคมและเศรษฐกิจด้วย ฉะนั้นการดูแลสมองของเราแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในบั้นปลาย ไม่เป็นภาระของผู้อื่น

สมองเสื่อม (Dementia)  เป็นภาวะที่มีการทำงานของสมองเสื่อมลง ทำให้สูญเสียความจำ การเรียนรู้ การใช้ภาษา กระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆบกพร่อง จนมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน

สาเหตุหลักๆของการเกิดภาวะสมองเสื่อม มี 2 สาเหตุ

  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เกิดจากอนุมลอิสระทำลายเซลล์สมอง ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมของโปรตีนจับกันเป็นก้อนในเนื้อสมอง ที่เรียกว่า Plaques ทำให้เซลล์สมองไม่สามารถรับส่งกระแสประสาทได้ ดีดังเดิม จึงเกิดปัญหาเรื่องการเรียนรู้ การจำ การแก้ไขปัญหาต่างๆสูญเสียไป เซลล์สมองเสื่อมในที่สุด
  • ความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองไม่พอ (Vascular Dementia) เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดตีบ ส่งผลให้ไม่สามารถนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมลงและตายในที่สุด อันเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม

  • อายุที่เพิ่มขึ้น พบว่ามีอัตราเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 20%
  • เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เคยเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตมาก่อน 
  • มีภาวะไขมันในเลือดสูง  ซึ่งนำสู่ไปการเกิดโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน  
  • ผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า  
  • การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • น้ำหนักตัวเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย  มากกว่า 25  
  • มีญาติผู้ใกล้ชิดเป็นภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพบว่ามีอัตราเสี่ยง 10%

สารอาหารที่บำรุงสมอง

  • สารสกัดจากใบแปะก๊วย ช่วยป้องกันและรักษาภาวะสมองเสื่อม สารสกัดจากใบแปะก๊วย จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้กันมานาน มีผลการศึกษาวิจัยมากมายที่กล่าวถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจาก ใบแปะก๊วยโดยเฉพาะเรื่องป้องกันและรักษาภาวะสมองเสื่อม
    สารสกัดจากใบแปะก๊วย มีสารสำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ (Flavone Glycoside) และกลุ่มเทอร์ปีน แลคโตน (Terpene Lactone) ซึ่งคุณสมบัติของสารทั้ง 2 กลุ่ม ล้วนมีประโยนช์ด้านสมองเป็นอย่างยิ่ง
    • กลุ่มฟลาโวนไกลโคไซค์ (Flavone Glycoside) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมอง เสื่อมได้
    • กลุ่มเทอร์ปีนแลคโตน (Terpene Lactone) ประกอบด้วย จิงโกไลด์ (Ginkgolide) และ บิโลบาไลด์ (Bilobalide) ซึ่งมีคุณสมบัติ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด  ส่งผลให้นำพาออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้น  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น  และยังสามารถต่อต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

    ประสิทธิภาพของสารสกัดใบแปะก๊วยที่มีต่อสมอง

    • ช่วยบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของสมองได้
    • ช่วยเพิ่มความจำ ความคิดและการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ช่วยฟื้นฟูความทรงจำและการเรียนรู้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยสมองเสื่อมได้
    • ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด

    จากการวิจัย ให้ผู้หญิงอาสาสมัครสุขภาพดี รับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย พบว่า ช่วยเพิ่มความ สามารถในการจดจำระยะสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่าสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย  สามารถเพิ่มการจดจำ การคิด และการเรียนรู้ได้

    คุณค่าของสารสกัดจากใบแปะก๊วยด้านอื่นๆ

    • รักษาอาการหูอื้อ วิงเวียน การไหลเวียนของเลือดบริเวณหูชั้นในที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการหูอื้อ และวิงเวียนศรีษะ จากหลายการวิจัย พบว่าแปะก๊วยช่วยรักษาอาการหูอื้อ และวิงเวียนศรีษะได้
    • บรรเทาอาการของโรคหลอดเลือดอุดตัน แปะก๊วยช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายแขน ขาอุดตันได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยในผู้ป่วยหลอดเลือดดำอักเสบที่ขา โดยให้รับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย พบว่าสามารถเดินได้ไกลกว่าผู้ป่วยที่ไม่รับประทาน
  • DHA ช่วยฟื้นฟู ป้องกันสมองเสื่อม จากการศึกษาพบว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง คือ DHA (Docosahexaenoic Acid)  ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดหนึ่งจึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมอง ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้พัฒนาการของสมอง ฟื้นฟู เซลล์สมองและป้องกันความเสื่อมของสมองได้
    มีผลวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิทยลัย UCLA ของอเมริกา พบว่า น้ำมันปลา ที่มี DHA เป็นส่วนประกอบ จะช่วยเพิ่มสารที่เป็นตัวช่วยลดการเกิดการสร้าง plaques (พังผืด) ในสมอง ซึ่งเป็นตัวการที่ทำลายใยประสาทส่วนความจำ  ทำให้ความจำเสื่อมได้ง่าย มีพฤติกรรมที่เปลี่ยน หลงๆลืมๆ อันเป็นอาการหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมได้ (7)
    นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า คนสูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์กว่า 1000 คน มีระดับ DHA ที่ลดต่ำลงเช่นกัน
  • Lecithin  สารอาหารเพิ่มประสิทธิภาพความจำ
    เลซิติน (Lecithin) เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อหุ้มสมองและเซลล์ประสาท จึงจัดได้ว่า เลซิตินเป็นสารที่มีความสำคัญต่อสมองอย่างยิ่ง  สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นสารที่ให้โคลีน อันเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท ( Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซติลโคลีน (Acetlycholine) ชึ่งจะช่วยในการส่งข้อมูลต่างๆระหว่าเซลล์ประสาท และระหว่างสมองกับการสั่งงานไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยให้สมองมีการทำงานได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น จึงมีบทบาทในการพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และความจำ
    มีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม พบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีปริมาณของสารอะเซติลโคลีนลดลง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s Disease) ในระยะเริ่มแรก พบว่าการให้โคลีนเป็นระยะเวลา 6 เดือนจะช่วยให้ความจำดีขึ้น(8)
    สารอาหารที่กล่างมาข้างต้นล้วนเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการดูแล สมองทั้งสิ้น ดังนั้นการเลือกดูแลสมองได้อย่างครบด้านจัดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารดูแลและ ปกป้องสมอง ได้อย่างดี

สารอาหารที่บำรุงสมองเหมาะสมกับใครบ้าง

  • วัยทำงาน ผู้บริหาร อายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคระบบหลอดเลือด สมอง และไขมัน เป็นต้น

เทคนิคการดูแลสมองง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

  • รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หากความดันโลหิตต่ำมากเกินไป อาจมีผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ลดอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารที่มีกากใย เนื่องจากไขมันอาจมีผลให้เกิดหลอดเลือดอุดตันได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ เหล่านี้มีผลให้เซลล์ต่างๆของร่างกายเสื่อมได้ง่าย
  • ผ่อนคลายความเครียด สงบจิตใจ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส เช่นการฝึกสมาธิ ศึกษาธรรม เลือกทำในสิ่งที่ตนเองชอบ
  • ฝึกความจำ เช่น ฝึกจำหมายเลขโทรศัพท์

เทคนิคการดูแลสมอง สำหรับวัยทำงาน

  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ฝึกหายใจให้ถูกวิธีโดยหายใจเข้า- ออก ช้าๆ ลึกๆ จะช่วยพัฒนาสมองได้  ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสาย
  • รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ เพื่อร่างกายจะได้มีพลังงานในการทำงาน เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานผัก ผลไม้เป็นประจำ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มาก เนื่องจากสมองประกบด้วยน้ำ 85% และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนจากการทำงาน เพราะจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ เช่นการท่องที่ยว การฟังเพลง การนั่งสมาธิ การเข้านอนเร็ว
  • คิดในเรื่องที่ดีๆและ หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา เพื่อการพัฒนาสมองที่ดี เช่น หัดเขียนหนังสือด้วยมือที่ไม่ถนัด คิดคำนวณแทนเครื่องคิดเลข เล่นเกมส์ลับสมอง ปริศนาอักษรไขว้

Reference                    

  • นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ. สมองกับความเสื่อม 
  • สาระความรู้เกี่ยวกับสมอง, ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลปิยะเวท
  • Joseph E..Pizzorno.Michael T.Murray.2000. Textbook of natural medicine.Vol2.751-759
  • Hindmarch I,Subhan Z. 1984. The psychopharmacological effects of Ginkgo biloba extract in normal healthy volunteers. Int J Clin Pharmacol Res: 89-93
  • Ernst E. & Stevinson C.1999 Ginkgo biloba for Tinnitus: a review. Clin. Otolaryngol. 24:164-167
  • Bauer U.1984. 6-month double blind randomized clinical trial of Ginkgo biloba extract versus versus placebo in two parallel groups in patient suffering from peripheral arterial insufficiency. 34:716-20
  • Ma QL, Teter B, et al. Omega-3 fatty acid docosahexaenoic acid increases SorLA/LR11, a sorting protein with reduced expression in sporadic Alzheimer's disease (AD): relevance to AD prevention. The journal of neuroscience 2007 Dec 26;27(52):14299-307
  • Etienne, P, et al. Alzheimer’s Disease and Clinical Effect of Lecithin Treatment In Choline and Lecithin in Brain Disorder. Bardeau, A., Growdon J.H., and Wurtman, R.J. eds. Ravan Press, New York. 1979