ปัจจุบัันเป็นที่รู้กันแล้วว่า การรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน ในวัยทองนั้นมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเบือดดำมากขึ้น
แต่นักทฤษฎีหลายคนยังมีความหวังอยู่ว่า การรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน ในช่วงที่พึ่งเริ่มเข้าสู่วัยทองเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในปริมาณน้อยๆ จะไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
อย่างไรก็ตามพบว่า หญิงวัยทองซึ่งอายุยังไม่มากและควรจะมีความเสี่ยงต่ำ กลับมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมสูง แม้ข้อมูลใหม่จะยังไมมีน้ำหนักมากนัก แต่จากการศึกษาในประเทศอังกฤษ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of National Cancer Institute โดยการผ้าสังเกตุหญิงวัยทองชาวอังกฤษ ซึ่งมีอายุระหว่าง 50-64 ปี จำนวนกว่า 1 ล้านคน (เรียกการศึกษานี้ว่า The Million Women Study)
ในช่วงระยะเวลา 5 ปี พบว่าความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่รับประทานฮอร์โมนทดแทน (เอสโตนเจน+โปรเจสติน) เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังหมดระดูหรือรับประทานนานกว่านั้น อยู่ที่ร้อยละ 0.46
ในขณะที่พบความเสี่ยงนี้ในผู้หญิงที่ไม่รับประทานฮอร์โมนทดแทนอยู่ที่ร้อยละ 0.3 แต่กลุ่มที่พบความเสี่ยงมากที่สุุดคือกลุ่มที่อยู่ในช่วง 5 ปีก่อนหมดระดูและช่วง 5 ปี หลังหมดระดูไปแล้ว โดยพบอยู่ที่ร้อยละ 0.61 แม้ว่าจะรับประทานฮอร์โมนทดแทนน้อยกว่า 5 ปีก็ตาม
มีรายงานหลายชิ้นที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้จะได้ผลแตกต่างกันในบางแง่มุม และเป็นแค่การเฝ้าสังเกตเท่านั้น แต่หญิงวัยทองที่จะใช้ฮอร์โมนทดแทนก็ควรคิดให้รอบคอบถึงผลดีผลเสียก่อนตัดสินใจเลือก