เสี่ยงกระดูกพรุน

เสี่ยงกระดูกพรุน

เมื่อย่างเข้าอายุประมาณ 35 ปี ผู้หญิงจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างช้าๆ และยิ่งเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน อัตราการเพิ่มขึ้นลกระดูกก็จะยิ่งมากขึ้น ผู้หญิงจึงมีอัตราเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงวัยกลางคนและผู้สูงอายุสุขภาพกระดูกจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างกระดูก และการสะสมมวลกระดูกที่เพียงพอในช่วงที่อายุ

ดังนั้น หากร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ เมื่อปริมาณแคลเซียมถูกดึงออกมาใช้มากขึ้นก็ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน เปราะบาง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงแตกหักได้ง่าย แม้จะได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยก็ตาม ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการของ “โรคกระดูกพรุน” และถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอตั้งแต่เด็กโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็จะ เพิ่มขึ้น

ในระยะเริ่มแรกโรคนี้จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้นจึงแสดงอาการออกมา เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหักทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

1. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จากการศึกษาบ่งชี้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์อย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลา นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่น อาจลดความแข็งแรงของมวลกระดูกได้

2. การเสพสารเสพติด เช่น การสูบบุหรี่ จะส่งผลให้มวลรวมของกระดูกลดลง

3. การขาดการออกกำลังอย่างต่อเนื่อง หรือคนที่นั่งหรือนอนเฉยๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง

4. โรคอ้วน การที่ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักส่วนเกินก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรค กระดูกพรุนได้เช่นกัน เนื่องด้วยคนอ้วนนั้นจะมีปัจจัยเสี่ยงเดิมกับโรคกระดูกบางอยู่แล้วนั่นเอง

5. ขาดโภชนาการที่ดี นั่นคือการได้รับสารอาหารที่มีความสำคัญต่อกระดูกไม่เพียงพอ ได้แก่ แคลเ​​ซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม แมงกานีส วิตามินดี วิตามินเค วิตามินซี และโปรตีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แคลเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ปกติร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับแคลเซียม อย่างพอเพียง อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมได้แก่ นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ชีส กระดูกหรือเปลือกของสัตว์ที่รับประทานได้ เช่น ปลากระป๋อง ปลาป่น ปลากรอบ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น

6. การตั้งครรภ์และการให้นมลูก เป็นช่วงที่คุณแม่จะสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย ดังนั้นในระยะตั้งครรภ์และให้นมลูกคุณแม่จะต้องบริโภคอาหารที่มีแคลเซียม เพิ่มขึ้นให้เพียงพอเพื่อช่วยพัฒนาโครงสร้างต่างๆ เช่น การสร้างกระดูกและฟันของลูก ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดี

ดังนั้น อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพกระดูกของคุณและคนที่คุณรักทุกวันด้วยโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารที่มีแคลเ​​ซียมและสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วน เพื่อยืดอายุการทำงานของกระดูกให้ยาวนานขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน