ขวดน้ำดื่มพลาสติก อันตรายใกล้ตัว

ขวดน้ำดื่มพลาสติก อันตรายใกล้ตัว

ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า ขวดน้ำพลาสติกมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน เห็นได้จากการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกหรือการนำขวดน้ำอัดลมหรือขวดน้ำเปล่าที่ ทำจากพลาสติกมากรอกน้ำแช่ตู้เย็นเอาไว้ดื่มกิน แต่รู้หรือไม่ว่า ขวดน้ำดื่มพลาสติกอันตรายกว่าที่คุณคิดหากใช้ไม่ถูกวิธี โดยเฉพาะสารก่อมะเร็งจากขวดพลาสติกที่อาจสะสมในร่างกาย และเกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว

คุณเคยสังเกตถึงตัวเลขที่อยู่ก้นขวดหรือไม่ ซึ่งอยู่ใกล้กับรูปสามเหลี่ยมหัวลูกศร โดยตัวเลขนั้นอยู่ตรงกลาง ตัวเลขนี้มีความหมายอะไร และมีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตหรือสุขภาพของผู้คนอย่างไร เรามาเติมความรู้กันนะคะ

1. พลาสติกPET (Poly Ethylene Terephthalate)

พลาสติกชนิดนี้ มักจะทำเป็นขวดใส่น้ำแร่หรือขวดบรรจุน้ำอัดลม ขวดประเภทนี้ สามารถทนความร้อนได้ประมาณ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับเครื่องดื่มอุ่นหรือแช่เย็น ถ้าหากใส่น้ำร้อน จะทำให้เปลี่ยนรูปร่างและเกิดสารที่เป็นพิษกับสุขภาพด้วย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ขวดพลาสติกชนิดนี้ เมื่อใช้ไป 10 เดือน จะมีสารDEHP รั่วไหลออกมา ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง และเป็นพิษต่ออัณฑะด้วย

ฉะนั้น เมื่อดื่มเครื่องดื่มเสร็จแล้ว ควรทิ้งขวดไปซะ อย่านำมาเป็นขวดบรรจุน้ำ หรือใช้ใส่อาหารอื่นๆ ต่ออีก ไม่เช่นนั้นจะทำลายสุขภาพ

2 . พลาสติก HDPE(High-density Polyethylene)

พลาสติกชนิดนี้ มักจะทำเป็นภาชนะบรรจุน้ำยาต่างๆ หรือแชมพู ภาชนะพลาสติกชนิดนี้ สามารถใช้ซ้ำถ้าหากสามารถล้างให้สะอาดได้ แต่ถ้าไม่สามารถล้างให้สะอาด ก็อย่านำไปใช้ต่อเด็ดขาด เนื่องจากของที่แต่เดิมบรรจุอยู่นั้น มักจะมีการตกค้าง และจะเกิดเชื้อแบคทีเรียด้วย

3 .พลาสติก PVC (Polyvinylchloride)

พลาสติกชนิดนี้ปัจจุบันไม่ค่อยใช้ในด้านห่ออาหารแล้ว ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้ สามารถผลิตสารมีพิษออกมาขณะตกอยู่ในอุณหภูมิสูง และอาจรั่วไหลออกมาเมื่ออยู่ในขั้นตอนทำผลิตภัณฑ์ ถ้าสารพิษเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์พร้อมกับอาหาร จะทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือทำให้เด็กพิการก่อนคลอด ปัจจุบัน ไม่ค่อยใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้ในการบรรจุอาหาร แต่ถ้ายังใช้อยู่ ห้ามเผชิญกับความร้อนเด็ดขาด

4 .พลาสติก LDPE(Low Density Polyethylene)

เป็นพลาสติกที่ทำเป็นฟิล์มรักษาความสดและฟิล์มพลาสติกทั่วไป ห้ามใช้ห่ออาหารใส่เตาไมโครเวฟ เนื่องจากฟิล์มที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้ไม่ทนความร้อน แม้ว่าเป็นชนิดที่ได้มาตรฐาน แต่ก็จะละลายทันทีในอุณหภูมิมากกว่า 110 องศาเซลเซียส และมีสารตกค้างที่ร่างกายมนุษย์ย่อยสลายไม่ได้ ขณะเดียวกัน เมื่อใช้ฟิล์มห่ออาหารแล้ว น้ำมันที่ระเหยออกจากอาหารจะเป็นตัวรับสารพิษจากฟิล์ม ฉะนั้น ต้องแกะฟิล์มออกก่อนที่จะนำอาหารเข้าเตาไมโครเวฟ

ใช้แบบไหนเสี่ยงตายเร็ว
- ขวดพลาสติกหรือแก้วพลาสติกเอามาใช้แล้วใช้อีก 
- ขวดพลาสติกที่กระทบ กระแทกขูดขีดไปมาจากการทิ้งไว้ในรถยนต์ 
- ขวดพลาสติกที่โดนความเย็นจัดต่ำกว่าศูนย์หรือร้อนจัด

ใช้แบบไหนปลอดภัยกับสุขภาพ
- ใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติก
- ใช้โดยเลี่ยงความร้อนสูงหรือความเย็นจัด
- ใช้โดยให้ภาชนะกระทบกระแทก หรือขูดขีดน้อยที่สุด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์

ที่มา : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์