ยาแก้อักเสบ...อักเสบจริงหรือ?

ยาแก้อักเสบ...อักเสบจริงหรือ?

เจ็บคอ เสมหะสีเขียว น้ำมูกสีเขียว แผลเป็นหนอง ท้องเสีย ปัสสาวะเสร็จแล้วมีความรู้สึกเหมือนยังถ่ายปัสสาวะไม่หมด
สารพัดอาการกับความคาดหวัง ที่มีต่อยาแก้อักเสบ จนทำให้ยาแก้อักเสบดูเหมือนจะเป็นยาสารพัดประโยชน์ ออกฤทธิ์ครอบจักรวาลในสายตาคนไทยในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงคืออะไรกันแน่­                 

สารพัดอาการกับความคาดหวัง ที่มีต่อยาแก้อักเสบ จนทำให้ยาแก้อักเสบดูเหมือนจะเป็นยาสารพัดประโยชน์ ออกฤทธิ์ครอบจักรวาลในสายตาคนไทยในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงคืออะไรกันแน่­

ลักษณะแบบไหนที่เรียกว่าอักเสบ

     การอักเสบเป็นกระบวนการตอบสนองที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อต่อสิ่งที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การกระแทก การระคายเคือง จัดเป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตพยายามจะซ่อมแซมตนเองจากเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ ถึงแม้ว่าบางครั้งสาเหตุของการอักเสบจะเกิดจากการติดเชื้อได้ก็ตาม เพราะการติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรคที่ก่อโรคซึ่งมีต้นเหตุมาจากภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งเพื่อต่อต้านปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อ เช่น การบาดเจ็บ กระแทก สารเคมี หรือแม้กระทั่งภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง รวมถึงเชื้อโรคเองก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดการอักเสบได้เช่นกัน

อาการและอาการแสดงที่สังเกตได้ว่าเกิดการอักเสบคือ มีอาการปวด เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการอักเสบมีลักษณะบวมและแดง หากเอามือไปใกล้ๆ จะรู้สึกว่ามีความร้อนออกมาจากบริเวณที่มีกาอักเสบ หรือสามารถสรุปรวมง่ายๆ ว่า ลักษณะของการอักเสบคือ ปวด บวม แดง ร้อน

ส่วนการติดเชื้อ เกิดจากการมีสิ่งที่เรียกว่าเชื้อโรคไปเจริญเติบโตภายในร่างกายของมนุษย์ ผลของการติดเชื้อ จะทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น มีไข้ เป็นฝีหนอง ยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อ จึงต้องเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าเชื้อโรค นั่นคือยาปฏิชีวนะ หรือเรียกง่ายๆว่า ยาฆ่าเชื้อ

ยาแก้อักเสบคืออะไร ใช้อย่างไร­

        จากความหมายของคำว่าการอักเสบ และการติดเชื้อ ทำให้สามารถสรุปง่ายๆได้ว่า ยาแก้อักเสบคือยาที่ออกฤทธิ์ลดกระบวนการอักเสบ ที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นกระบวนการตอบสนองต่อปัจจัยที่มาก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ โดยยาจะมีฤทธิ์ในการลดอาการปวด บวม แดง และร้อน บริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ ยาแก้อักเสบในความหมายนี้ที่รู้จักชื่อกันโดยทั่วไป เช่น ไอบูโปนเฟน (Ibprofen) ไดโคลฟีเนค (Diclofenac) ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) อินโดเมทาซิน (Indomethacin) มีฟีนามิค แอซิด (Mefenamic acid) ยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่น ปวดข้อ ปวดประจำเดือน ข้อสำคัญคือ ต้องรับประทายยาหลังอาหารทันที เพราะยานี้มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร

แม้จะมียารุ่นใหม่ๆ ที่บอกว่าไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหารหรือระคายเคืองน้อยกว่ายารุ่่นเก่าๆ เช่น มีล็อกซิแคม (Meloxicam) เซเลค็อกซิบ (Celecoxib) แต่ก็ควรจะรับประทานหลังอาหารทันที

นอกจากนี้ หารับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจรบกวนการทำงานของไต ก่อให่เกิดภาวะไตวายได้ รววถึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หรือควบคุมระดับความดันโลหิตได้ลำบาก หากเป็นความดันโลหิตสูง เพราะยาในกลุ่มนี้ทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกือโซเดียม

โดยรายงานทางวิจัยใหม่ๆ ยังพบอาการข้างเคียงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงหลอดเลือดสมอง ด้งนั้นจึงควรใช้ยาชนิดนี้เพียงเพื่อการบรรเทาอาการ และหยุดใช้ยาเมื่ออาการหาย แต่หากเป็นโรคประจำตัวบางอย่างที่อาจมีความจำเป็นต้องรับประทานยาแก้อักเสบต่อเนื่อง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาจากเภสัชกร

ยาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ

      ด้งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า "ยาแก้อักเสบ" มักถูกเรียกโดยทั่วไปว่ายาแก้ปวด เพราะฤทธิ์ในการบรรเทาอาการอักเสบ คือ ลดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ส่วนยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ มักถูกเรียกว่า "ยาแก้อักเสบ" เพราะคนทั่วไปเข้าใจว่า การอักเสบคือการติดเชื้อ ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไป ทำให้หลายครั้งที่มีอาการที่คิดว่าติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น เจ็บคอมาก มีไข้ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (ทำให้ถ่ายปัสสาวะกะปริบกะปรอย) ติดเชื้อทางเดินอาหาร (ที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด) มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เวลาไปซื้อยาจึงบอกว่าขอซื้อยา แก้อักเสบ

ทั้งที่ในความเป็นจริง ต้องเรียกว่ายาฆ่าเชื้อ สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม โดยที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่นเจ็บคอ แต่ไม่มีไข้ ท้องเสีย แต่ไม่มีไข้ อาจก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาตามมาได้

รวมถึงการได้รับยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อไม่ต่อเนื่องครบระยะเวลาที่กำหนด โดยเข้าใจว่า เมื่ออาการหายก็สามารถหยุดยาได้ ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาเชื้อดื้อยา

      ส่วนอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ระคายคอ ร่วมกับมีน้ำมูกไหล ไอ มีเสมหะ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่รู้จักกันดีว่า โรคหวัด (Common cold) ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 3-7 วัน จากการพักผ่อนและรับประทานยาบรรเทาอาการ ตามความเหมาะสม

แต่บางคนอาจจะไปกินยาฆ่าเชื้อ เช่น อะม็อกซี่ซิลลิน (Amoxicillin) แล้วหาย ก็ขอให้ทราบว่าไม่ได้หายเพราะยา เนื่องจากนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดแต่อย่างใด

ยาแก้อักเสบ...ใช้อย่างไจึงปลอดภัย

      ใช้ตามความจำเป็น เฉพาะเมื่อมีอาการ หยุดยาเมื่อมีอาการหาย หรือตามแพทย์สั่ง ต้องรับประทานยาหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หากไม่สบายไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ารับประทานยาแก้อักเสบอยู่ โดยบอกชื่อยาแก้อักเสบหรือนำยาไปให้ดูด้วยก็จะเป็นการดี

หากมีมีอาการผิดปกติหลังการรับประทานยาแก้อักเสบ เช่น ปากพอง แสบร้อนในปาก ท่านอาจแพ้ยาได้ ควรหยุดรับประทานยาแก้อักเสบนั้นและไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา

ข้อมูลจากหนังสือ :Health Today No.152, article : ภก.ภตุพร ทองอิ่ม